ยักษ์ใหญ่ ตัวแทนอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ เข้าเยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี

เมื่อวันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2565 นายชาตรี โอฬารอุ้มบุญ กรรมการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ได้นำคณะอุตสาหกรรมการพิมพ์ โดยมีตัวแทนกลุ่มย่อย ชื่อ “ยักษ์ใหญ่”เป็นตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการพิมพ์ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการการสิ่งพิมพ์ทั้งจากกรุงเทพฯและหลายจังหวัดในภาคอิสาน เข้าเยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี โดยมีนายพิสิษฏ์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรมการผู้จัดการ และ ดร.ภีมกร โดมมงคล ที่ปรึกษา ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปความก้าวหน้าและแผนการพัฒนาโครงการ พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และความคิดเห็นต่อกลยุทธ์ในการปรับตัวของธุรกิจเพื่อให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่ต้องปรับตัว เปลี่ยนแปลงพร้อมตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศ และในกลุ่มประเทศ CLMV ที่ยังขาดด้านเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ที่ทันสมัย โดยทางคณะฯได้เล็งเห็นศักยภาพและความพร้อมของนิคมฯอุดรธานี ในการเป็นฐานการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เพื่อให้บริการลูกค้าทั้งในนิคมฯอุดรธานี และที่อยู่นอกนิคมฯ จากนั้นได้นำชมอาคารคลังสินค้าขนาดใหญ่ได้มาตรฐาน มีพื้นที่กว่า 23,000 ตร.ม พร้อมแบ่งให้เช่าตามความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้กลุ่มผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์มีเป้าหมายขยายการลงทุนในภาคอิสานที่ชัดเจนและมองว่านิคมอุตสาหกรรสามารถตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้ประกอบการและลูกค้าที่หลากหลายกลุ่มได้อย่างแน่นอน

นิคมอุตสาหรรมอุดรธานี ศูนย์กระจายสินค้าและการขนส่งที่ทันสมัย

นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ศูนย์กระจายสินค้าและการขนส่งที่ทันสมัย ตอบโจทย์ผู้ประกอบการมีคลังสินค้าขนาดใหญ่ได้มาตรฐานพร้อมให้เช่าและลานกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (CY) พร้อมอุปกรณ์

คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ตรวจจุดเชื่อต่อมรางรถไฟ นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี

ในวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.30 น.คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย นำโดยนายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการ พร้อมคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ได้เดินทางโดยขบวนรถไฟดีเซลรางจากสถานีรถไฟอุดรธานีมายังจุดเชื่อมต่อรางรถไฟเข้าพื้นที่ ICD ของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟหนองตะไก้ 2.802 กิโลเมตร ในโอกาสนี้ นางอรพิน พิพัฒน์วิไลกุล รองประธาน บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัดและนายพิสิษฎ์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรมการผู้จัดการ พร้อมคณะผู้บริหาร ได้ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปถึงแผนการพัฒนาโครงการ ICD ซึ่งโครงการได้จัดสรรพื้นที่ 126 ไร่ ที่อยู่ติดกับรางรถไฟสายกรุงเทพฯ-หนองคาย เป็นสถานีบรรจุและแยกสินค้า(ICD) โดยจะเป็นจุดปล่อยสินค้าตามระเบียบพิธีการศุลกากร ซึ่งสินค้าสามารถออกจาก ICD แล้วส่งขึ้นท่าเรือ หรือส่งออกทางด่านหนองคายได้เลย โดยไม่ต้องเคลียร์ที่ท่าเรือแหลมฉบังและด่านหนองคายอีก ปัจจุบันได้ออกแบบก่อสร้าง ปรับดินถมดิน เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างรางภายในนิคมฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว การจัดตั้ง ICD ในนิคมฯอุดร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าแก่ผู้ประกอบการในนิคมฯ และผู้ประกอบการทั่วไปที่อยู่นอกนิคมฯด้วย