นิคมอุตสาหรรมอุดรธานี ศูนย์กระจายสินค้าและการขนส่งที่ทันสมัย

นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ศูนย์กระจายสินค้าและการขนส่งที่ทันสมัย ตอบโจทย์ผู้ประกอบการมีคลังสินค้าขนาดใหญ่ได้มาตรฐานพร้อมให้เช่าและลานกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (CY) พร้อมอุปกรณ์

คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ตรวจจุดเชื่อต่อมรางรถไฟ นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี

ในวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.30 น.คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย นำโดยนายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการ พร้อมคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ได้เดินทางโดยขบวนรถไฟดีเซลรางจากสถานีรถไฟอุดรธานีมายังจุดเชื่อมต่อรางรถไฟเข้าพื้นที่ ICD ของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟหนองตะไก้ 2.802 กิโลเมตร ในโอกาสนี้ นางอรพิน พิพัฒน์วิไลกุล รองประธาน บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัดและนายพิสิษฎ์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรมการผู้จัดการ พร้อมคณะผู้บริหาร ได้ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปถึงแผนการพัฒนาโครงการ ICD ซึ่งโครงการได้จัดสรรพื้นที่ 126 ไร่ ที่อยู่ติดกับรางรถไฟสายกรุงเทพฯ-หนองคาย เป็นสถานีบรรจุและแยกสินค้า(ICD) โดยจะเป็นจุดปล่อยสินค้าตามระเบียบพิธีการศุลกากร ซึ่งสินค้าสามารถออกจาก ICD แล้วส่งขึ้นท่าเรือ หรือส่งออกทางด่านหนองคายได้เลย โดยไม่ต้องเคลียร์ที่ท่าเรือแหลมฉบังและด่านหนองคายอีก ปัจจุบันได้ออกแบบก่อสร้าง ปรับดินถมดิน เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างรางภายในนิคมฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว การจัดตั้ง ICD ในนิคมฯอุดร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าแก่ผู้ประกอบการในนิคมฯ และผู้ประกอบการทั่วไปที่อยู่นอกนิคมฯด้วย

หอการค้า 14 จังหวัดภาคใต้ เยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี

ในวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565 เวลา 10.00 น. นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ พร้อมด้วยประธานหอการค้าจังหวัดและเลขาธิการ จำนวน 24 ท่าน ให้เกียรติลงพื้นที่เยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี โดยมีคุณอรพิน พิพัฒน์วิไลกุล รองประธาน และคุณพิสิษฏ์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปถึงความเป็นมาของโครงการนิคมสีเขียวแห่งแรกของภาคอีสาน รวมถึงจุดเด่นและศักยภาพของพื้นที่ในการเป็นศูนย์กระจายสินค้าและศูนย์โลจิสติกส์ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการแล้วเสร็จกว่าร้อยละ 85 มีความพร้อมของอาคารคลังสินค้าขนาดใหญ่ 3 หลัง พื้นที่กว่า 23,000 ตร.ม. และลานกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์บนพื้นที่กว่า 30 ไร่ โดยการเข้าเยี่ยมชมครั้งนี้ คณะฯได้ชื่นชมความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาโครงการที่มีความคืบหน้าไปมาก และได้ให้ความสนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการตู้ควบคุมอุณหภูมิและห้องเย็นสำหรับเก็บสินค้าประเภทอาหารทะเลและผลไม้จากภาคใต้ โดยใช้ศูนย์โลจิสติกส์ของนิคมฯอุดรเป็นที่จัดเก็บและกระจายสินค้าไปยังภาคอีสานตอนบน กลุ่มประเทศ CLMV และจีนที่มีศักยภาพต่อไป